วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ตกแต่งภายในกับหลักในการออกแบบ

งานตกแต่งภายในไม่ได้เป็นเพียงการจัดวางวัตถุลงบนพื้นภายในห้องนอน หรือห้องต่าง ๆ เพียงเท่านี้หากแต่ว่าการตกแต่งภายในนั้นต้องมีหลักการณ์ในการออกแบบเพื่อให้เข้ากับห้องนอน ห้องครัว และอื่น ๆ ตามลำดับ หลายท่านคิดว่ามีอะไรทีจับใส่ได้ก็ใส่หรือวางลงไปในห้อง จริง แล้วงานออกแบบตกแต่งภายในมีมากกว่าที่หลายท่านคิดมากมายนัก การออกแบบตกแต่งภายในที่ดีผู้ออกแบบจะต้องมีความรู้และเข้าใจหลักพื้นฐานต่าง ๆ ของงานออกแบบตกแต่งภายใน และสิ่งที่ควรทราบเรื่องการออกแบบตกแต่งภายใน คือ เส้น รูปร่าง รูปทรง ลักษณะผิว ลวดลาย สี และ ช่วงระยะ

เส้นกับงานออกแบบตกแต่งภายใน
เส้นกับงานตกแต่งภายใน
เส้น ( line ) คือสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการออกแบบเพราะรูปร่างต่าง ๆ ล้วนเกิดจากการนำเส้นมาประกอบเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น โต๊ะ เก้าอี้ เตียงนอน รถยนต์ คน สัตว์ ล้วนแล้วแต่มีองประกอบของเส้นทั้งสิ้น และเส้นแบ่งได้เป็นหลายชนิดดังนี้
  • เส้นตั้ง : ให้ความรู้สึกสูงสง่า เช่น โบสถ์ วิหาร หรืออาคารที่มีเสาสูงใหญ่หลานต้นทำให้ดูแข็งแรงและน่าเกรงขาม
  • เส้นนอน : ให้ความรู้สึกเงียบสงบ ราบเรียบห้องที่ใช้เส้นนอนมาก ๆ จะทำให้ดูไม่เร้าใจ โดดเดี่ยว เฉื่อยชา
  • เส้นเฉียง : ทำให้รู้สึกไม่อยู่นิ่ง ว่องไว เปลี่ยนแปลง มักใช้ตกแต่งฝาผนังภายในห้องเพื่อสร้างจุดเด่งให้กับห้องของคุณ
  • เส้นหยัก : หรือฟันปลา ให้ความรู้สึกสับสนวุ่นวาย แต่ก็สามารถนำไปใช้สร้งให้เกิดความรู้สึกประหลาดใจและน่าสงสัยได้ เส้นหยักยังเป็นเส้นที่สามารถชักนำสายตาได้ง่ายอีกด้วย
  • เส้นโค้ง : สร้างความนุ่มนวลและความกลมกลืน ห้องที่มีเส้นตั้งและเส้นนอนมาก ๆ จะให้ความรู้สึกกระด้างซึ่งสามารถลดความกระด้างลงได้ด้วยการใช้เส้นโค้ง


รูปร่างกับงานออกแบบตกแต่งภายใน

รูปร่าง ( shape ) เกิดจากการนำเส้นตรงและเส้นโค้งมาประกอบกันจนเป็นรูป รูปร่างประกอบด้วยด้าน 2 ด้านคือ ด้านกว่างและด้านยาว เรียกว่ารูป 2 มิติ รูปร่างมีเฉพาะพื้นผิวหน้าของรูปเท่านั้น ไม่มีส่วนลึกหรือส่วนหนา รูปร่างมีลักษณะแตกต่างกันไปและเราสามารถแบ่งรูปร่างออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
  • รูปร่างตามธรรมชาติ :  ( Organic Shape ) คือรูปทรงที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ไก่ คน ช้าง ม้า วัว ควาย ฯลฯ เป็นต้น
  •  รูปร่างเรขาคณิต : ( Geometric Shape ) คือรูปร่างที่ประกอบด้วยเส้นตรงและเส้นโค้ง เช่น รูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ห้าเหลี่ยม หกเหลี่ยม ครึ่งวงกลม วงรี ฯลฯ
  • รูปร่างอิสระ : ( Free Shape ) คือรูปร่างต่าง ๆ นอกเหนือจากรูปร่างตามธรรมชรติและรูปร่างเรขาคณิต 
รูปทรงกับงานออกแบบตกแต่งภายใน

รูปทรง ( Form ) หมายถึงโครงสร้างของสิ่งต่าง ๆ ประกอบด้วยด้าน 3 ด้านคือ ด้านกว้าง ด้านยาว ด้านหนา เรียกว่ารูป 3 มิติ รูปทรงสามารถวัดขนาดและปริมาตรได้ และรูปทรงแบ่งได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

  • รูปทรงตามธรรมชาติ : ( Organic Form ) ได้แก่รูปที่เหมือนวัตถุจริงในธรรมชาติ สามารถยึดเป็นแบบอย่างได้ เช่นรูปทรงของนกยูง ผีเสื้อ สิงโต ฯลฯ
  • รูปทรงเรขาคณิต : ( Geometric Form ) ได้แก่รูปทรงสี่เหลี่ยมหรือรูปทรงเหลี่ยมอื่น ๆ รูปทรงกลม รูปทรงรี และรูปทรงเรขาคณิตอื่น ๆ
  • รูปทรงอิสระ : ( Free Form ) ได้แก่รูปทรงอื่น ๆ ที่ไม่เข้าข่ายรูปทรงทั่งสองประเภทข้างต้น
งานตกแต่างภายในนิยมใช้รูปทรงทั้งสามประเภท เพื่อประกอบกันเป็นรูปแบบเครื่องเรือนต่าง ๆ หมอนอิง โคมไฟ ฯลฯ โดยต้องใช้รูปทรงทั่งสามในสัดส่วนที่เหมาะสม หากใช้มากเกินไปจะขาดจุดเด่นและดูลายตา ซับซ้อน ยุ่งเหยิง

พื้นผิวกับงานตกแต่งภายใน

ทุกสิ่งย่อมมีพื้นผิว ( Texture ) ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันและให้ความรู้สึกที่ต่างกันออกไป การตกแต่งภายในจึงควรคำนึงถืงพื้นผิวของวัสดุที่ใช้ เช่น กระจกให้ความรู้สึกใหม่ ทันสมัย ผิวขรุขระที่เสาให้ความรู้สึกหยาบ แข็งแรง ผิวเรียบของเพดานให้ความรู้สึกสบาย ฯลฯ นอกจากนี้พื้นผิวยังมีส่วนทำให้ค่าของสีอ่อนแก่ เพื้ยนไปจากความเป็นจริงได้ รวมั้งมีผลในการดูและรักษาความสะอาดด้วย

ลวดลายกับงานตกแต่งภายใน

ลวดลาย ( Pattern ) ในแต่ละสิ่งล้วนแตกต่างกันมากมาย มีทั้งลวดลายที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น ลายไม้ ลายจากสัตว์ ฯลฯ และลายที่มนุษย์ประดิษฐ์คิดขึ้น เช่น ลวดลายบนผ้า บนกระดาษปิดฝาหนัง ฯลฯ ห้องที่มีลวดลายน้อยเกินไปจะดูไม่น่าสนใจ แต่ถ้ามีมากเกินไปก็จะดูสับสนวุ่นวาย

สีกับงานตกแต่งภายใน

สี ( color ) เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญมากสำหรับการออกแบบตกแต่งภายใน เพราะนอกจากจะสร้างความสวยงามแล้วยังก่อให้เกิดความรู้สึกได้มากมายหลากหลาย ขึ้นอยู่กับสถานที่และสีที่ใช้

ช่วงระยะกับงานตกแต่งภายใน

คำว่า ช่วงระยะ (Space )  มีความหมายถึงระยะช่องว่างสองประเภทประเภทแรกหมายถึง ช่องว่างในตัวของวัตถุ ( Object ) เอง เรียกว่าช่วงระยะบวก ( Positive Space ) ส่วนอีกประเภทหมายถึงช่องว่างรอบตัววัตถุ เรียกว่าช่วงระยะลบ ( Negative Space ) ซึ่งช่วงระยะทั้งสองประเภทจะต้องมีความสัมพันธ์ที่เหมาะสมกันเป็นอย่างดีจึงจะทำให้การออกแบบตกแต่งภายในเครื่องเรือนและการตกแต่งได้ผลงานที่ดี เครื่องเรือนจะถูกขับเน้นให้เด่นชัดขึ้นหากจัดเนื้อที่ของรูปหรือสิ่งที่เป็นช่องว่างได้เหมาะสม การจัดวางเครื่องเรือนเต็มพื้นที่จนไม่มีที่พักสายตาเป็นวิธีการจัดห้องที่ผิด เนื่องจากเป็นการใช้เนื้อที่มากเกินความ จำเป็น

การออกแบบที่ดีจึงขึ้นอยู่กับการแสดงออกถึงรูปร่างที่ดีและการจัดวางในตำแหน่งที่เหมาะสม ผู้ออกแบบต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องเรือนกับขนาดของห้องและกิจกรรมภายในห้องนั้นเพื่อจัดวางเครื่องเรือนให้เกิดความสวยงามได้รับประโยชน์ใช้สอยเต็มที่ และสอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ของผู้พักอาศัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น