วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ตกแต่งภายในกับหลักการออกแบบเครื่องเรือน

ตกแต่งภายในกับหลักการออกแบบเครื่องเรือน มี 2 ขั้นตอน คือ 

1. การออกแบบโครงสร้าง (structural design) ตามธรรมชาติ แล้ววัตถุทุกชนิดย่อมมีรูปทรง รูปร่าง ขนาด พนผิว สี เป็นลักษณะเฉพาะตัว ผู้ออกแบบที่ดีควรใช้ลักษณะพิเศษของวัตถุมาเป็นพื้นฐานในการออกแบบโดย คำนึงถึงรายละเอียดที่สัมพันธ์กัน 4 ประการ คือ
  • ประโยชน์ใช้สอยและความเหมาะสม เช่น เก้าอี้หวายใช้สำหรับนั่งเล่นพักผ่อน ฯลฯ 
  • ขนาดสัดส่วนที่ดี ซึ่งต้องประสานกลมกลืน กับวัตถุข้างเคียงอื่นๆ 
  • คงธรรมชาติที่แท้จริงของวัสดุที่นำมาใช้ เช่น การใช้ใม้ทำเป็นเครื่องเรือนโดยไม่ทาสีทับ ปล่อยให้เห็นลวดลายไม้อันเป็นธรรมชาติ 
  • เลือกวัสดุที่เหมาะสมและง่ายต่อการบำรุงรักษา เช่น การเลือกใช้ ปูนและหินอ่อนทำเก้าอี้สนามเพื่อให้ทนแดดทนฝน ฯลฯ
2. การออกแบบตกแต่งโครงสร้าง (decorative design) หลังจากกำหนดลักษณะเครื่องเรือนแล้ว ผลงาน ที่ได้จะสวยงามน่าใช้ก็ด้วยการออกแบบตกแต่งโดยใช้ลี เส้น และชนิดของวัตถุ โดยคำนึงถึงหลักดังนี้

  • เป็นการตกแต่งที่สัมพันธ์กับการ ออกแบบโครงสร้าง และเสริมงานออกแบบโครงสร้าง ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
  • ตกแต่งเฉพาะส่วนที่จำเป็นและ สอดคล้องกับวัสดุที่ใช้อย่างมีเอกภาพ
  • เป็นการออกแบบที่แสดงออกถึง ความก้าวหน้าทางด้านการออกแบบ มีการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆให้เกิดขึ้น

การออกแบบตกแต่งจะได้ผลดีย่อมขึ้นอยู่กับความคิด (idea) และ ประสบการณ์ ผู้ออกแบบนอกจากจะรู้กฎเกณฑ์ของการสร้างสรรค์แล้วยังต้องรู้จัก นำความรู้ความลามารถนั้นมาใช้ให้ถูกวิธีอีกด้วย ผลงานจึงจะเป็นที่ยอมรับตลอดไป ไม่ล้าสมัยหรือด้อยประโยชน์ใช้สอย นอกจากหลักใหญ่ๆข้างต้นแล้ว ยังมีฃ้อควร,พิจารณาประกอบกันอีก 4 ข้อคือ

  1. ตกแตงภายในให้สัมพันธ์กับตัวอาคารโดยเลือกวัสดุที่ไม่ทำให้อาคาร ขาดความเป็นเอกลักษณ์และทำให้ตัวอาคารเดนชัดยิ่งขึ้น ซึ่งต้องไม่มากเกินไปจนดู ลับสนวุ่นวาย
  2. ตกแต่งภายในให้สัมพันธ์กับตัวเจ้าของบ้าน ทั้งในแง่กิจวัตร งาน อดิเรก อุปนิสัย และรสนิยม
  3. ตกแต่งภายในให้สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก เซ่น สนามหญ้า ต้นไม้ รวมทั้งบ้านข้างเคียง
  4. ตกแต่งให้สอดคล้องกับวัสดุที่ใช้แต่งและต้องเสริมหรือเน้นเส้น รูปร่าง ของแบบ และโครงสร้าง
 ตกแต่งภายในกับหลักการออกแบบเครื่องเรือน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น